การแจกแจงต้นทุนเพื่ออธิบายรายละเอียดในการคิดราคาที่ใช้กันในวงการ Supplier ของฮีโน่ และโตโยต้า นั้นโดยปกติ Cost Break Down ที่ใช้กัน จะมีรูปแบบที่ทำกันอยู่ 2 แบบคือแบบหน้าเดียว และแบบหลายหน้า ซึ่งแบบหน้าเดียว จะเป็นรูปแบบของฮีโน่ และแบบหลายหน้าจะเป็นรูปแบบของโตโยต้า แต่ไม่ว่าจะแบบใดก็ตาม เนื้อหาในโครงสร้างราคาของทั้งสองแบบนั้น มีโครงสร้างการคิดราคาที่เหมือนกัน ดังรูป
ส่วนต่าง ๆ ของต้นทุนที่ประกอบกันออกมาเป็น Cost Break Down สามารถทำออกมาเป็นส่วน ๆ ดังนี้
Header เป็นการลงข้อมูลทั่ว ๆ ไปของงานที่ทำราคาคือ ชื่อ Supplier, ชื่อชิ้นงาน (Part Name), รหัสชิ้นงาน (Part Number), กำหนดการมีผลบังคับใช้ราคา (Effective date), มูลเหตุของการทำราคา (Price reason) หรือสถานะของราคา (Stage of Price) และเงื่อนไขต่าง ๆ อย่างคร่าว ๆ
Material cost เป็นส่วนของการคิดราคาวัตถุดิบทางตรง (Direct Material) ว่าคิดอย่างไร โดยระบุชนิดของวัตถุดิบ (Material specification), จำนวนที่ใช้ซึ่งโดยมากจะระบุเป็นน้ำหนัก (Gross weight, kg.), น้ำหนักชิ้นงานสุทธิ (Part weight, kg.), น้ำหนักเศษซากที่สามารถขายคืนได้ (Scrap weight, kg.), และคิดคำนวนออกมาเป็นค่าวัตถุดิบสุทธิ
Purchase cost เป็นชิ้นส่วนย่อย (Component part) ที่ซื้อมาใช้ ส่วนมากจะเป็นชิ้นส่วนมาตรฐาน (Standard Part) เช่น Bolt, Nut, Rivet, Washer เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้ยังหมายรวมถึงขั้นตอนการผลิตบางอย่างที่ไม่สามารถทำได้เอง ต้องจ้างให้ที่อื่นช่วยทำให้ เช่นงานทำผิวต่าง ๆ เช่น การชุบ EDP, Zince เป็นต้น
Process Cost ค่ากระบวนการผลิต (Process rate) สำหรับ buyer นิยมที่จะให้คิดออกมาเป็นต่อหน่วยการใช้งาน ซึ่งในการใช้งานจำเป็นต้องใช้กี่หน่วย ก็คูณรวมกันออกมา สำหรับค่ากระบวนการผลิตที่ใช้อยู่มีดังนี้
งาน Press คิดคามขนาดของเครื่องปั๊ม (Press machine) หน่วยการคิดราคาคือ บาทต่อสโตรก
งานเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหรือ CO2 เหมารวมทุกขนาดทั้ง Hand welding และ Robot welding หน่วยการคิดราคาคือ บาทต่อเซ็นติเมตร
งานเชื่อมแบบ Spot Welding เหมารวมทุกขนาด หน่วยการคิดราคาคือ บาทต่อจุด Spot
ทั้งนี้ก่อนแจ้งให้มีการแข่งขันราคากัน Buyer จะพิจารณา Process Rate เป็นอันดับแรกก่อนเลยว่า Supplier รายใดมี Process Rate ที่เหมาะสม ซึ่งเป็นอัตราที่คงที่และทราบกันดีอยู่แล้ว แต่สำหรับ Supplier รายใหม่ที่น่าสนใจ ก็อาจมีการสอบถามในส่วนนี้ได้ และการที่จะยอมรับหรือกำหนด rate ที่จะบอกขายได้นั้น Supplier จำเป็นต้องรู้และมีการกำหนดเงื่อนไขขั้นต่ำในการผลิตของตัวเอง ซึ่ง Rate ที่จะบอกขายจะดีหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับการจัดการต้นทุนภายในของแต่ละ Supplier เอง
Investment หรือค่า Tooling สำหรับค่าการลงทุนที่จะคิดเรียกเก็บนี้ สามารถขอเรียกเก็บได้ และต้องแจ้งมาพร้อมกับตอนที่เสนอราคา ซึ่งการพิจารณาจ่ายค่าการลงทุนนี้จะจ่ายให้แต่ค่าเครื่องมือเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้ และใช้ทำชิ้นงานชิ้นนั้น ๆ ได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถนำไปใช้งานอย่างอื่นได้
Over Head / Administration / Profit ส่วนนี้เรียกรวม ๆ ว่าค่าการจัดการทั้งหมดเบ็ดเสร็จจนชิ้นงานถึงโรงงานผู้ซื้อ ซึ่งประกอบด้วยโสหุ้ยต่าง ๆ ค่าขนส่ง ค่าบรรจุภัณณฑ์ และกำไร รวม ๆ กันซึ่งในที่นี้จะเหมารวมเป็น %ของค่าการผลิต (Manufacturing cost) ซึ่งประกอบด้วยค่าวัตถุดิบ ค่ากระบวนการผลิต ค่าชิ้นส่วนย่อย ค่าการผลิตรวมกับค่าการจัดการก็จะได้เป็นราคาขายในที่สุด
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
สั้นแต่เห็นภาพ เข้าใจง่ายดีค่ะ มีประโยชน์ ขอบคุณที่แชร์
ตอบลบสั้นแต่เห็นภาพ เข้าใจง่ายดีค่ะ มีประโยชน์ ขอบคุณที่แชร์
ตอบลบสั้นและเข้าใจง่ายดีค่ะ มีประโยชน์ ขอบคุณที่แชร์
ตอบลบสั้นและเข้าใจง่ายดีค่ะ มีประโยชน์ ขอบคุณที่แชร์
ตอบลบสั้นและเข้าใจง่ายดีค่ะ มีประโยชน์ ขอบคุณที่แชร์
ตอบลบสั้นและเข้าใจง่ายดีค่ะ มีประโยชน์ ขอบคุณที่แชร์
ตอบลบ